การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ต้องทำอะไรบ้าง ??

การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ต้องทำอะไรบ้าง?
1. ล้างแผงโซล่าเซลล์
1.1 ความถี่ >>> ส่วนใหญ่ ทั่วๆไปปีละ 3 - 4 ครั้ง แต่ถ้าพื้นที่นั้นๆ มีฝุ่น หรือ สิ่งสกปรกมากกว่าปกติ ก็อาจต้องมีการล้างถี่มากขึ้น อาจจะต้องล้างเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งช่วงแรกๆ ก็อาจต้องลองดูมอนิเตอร์ จดสถิติ ดูว่า ล้าง กับ ไม่ล้าง ค่าพลังงานที่ผลิตได้ แตกต่างกันเท่าไหร่ อย่างไร ซึ่งการล้างบ่อย ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แล้วคุ้มค่ากับค่าพลังงานที่ได้เพิ่มขึ้น หรือไม่อย่างไร
1.2 ล้างยังไง >>>ใช้เพียงน้ำสะอาดฉีด ก็เพียงพอแล้ว โดย ใช้ไม้ม็อบดันฝุ่น เป็นอุปกรณ์เช็ด ถูแผงโซล่าเซลล์ ขณะล้าง ห้ามขึ้นเหยียบ บนแผงโซล่าเซลล์เด็ดขาด
1.3 สำหรับไซท์ขนาดใหญ่ ก็จะต้องมีระบบท่อน้ำ ติดตั้งบนหลังคา แล้วมีก็อกน้ำ สำหรับต่อสายยาง ฉีดน้ำ ให้มีแรงดันเพียงพอสำหรับ เปิดก็อกน้ำ อย่างน้อย 2 ก็อก แรงดันไม่ตก
1.4 ช่วงเวลาที่เหมาะในการล้างแผง ควรเป็นตอนกลางคืน หรือเช้ามืด เนื่องจากอากาศเย็นลง มีน้ำค้างเกาะที่แผง ทำให้คราบสกปรก ออกได้ง่าย ซึ่งหาก ล้างในเวลากลางวัน พอฉีดน้ำลงแผงแป๊ปเดียว น้ำก็ระเหย แห้งอย่างเร็ว ทำให้ขัดคราบสกปรกออกยาก
อีกทั้งในเวลากลางคืน ทำให้แผงโซล่าเซลล์หยุดผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากเกิดกรณีที่ เกิดมีสายไฟฟ้า ขาด หรือชำรุด ก็ทำให้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน เพราะไม่มีกระแสไฟฟ้า หากล้างในเวลากลางคืนให้คำนึงเรื่องความไม่ปลอดภัย กับผู้ปฏิบัติงานล้างแผง

2. ตรวจสอบความแตกร้าวของแผงโซล่าเซลล์
>>> ที่พบเจออยู่เป็นประจำก็แผงโซล่าเซลล์แตก ซึ่งบางครั้งแผงก็ยังสามารถผลิตไฟฟ้าใช้งานได้อยู่ แต่หากเกิดฝนตก หรือทำการล้างแผง ก็อาจทำให้ ฟิวส์ ของ Surge Protection ขาด เพราะน้ำซึมเข้าในแผง ทำให้ช็อตเซอร์กิต พอแผงแห้ง แล้วเปลี่ยนฟิวส์ ระบบก็สามารถใช้งานได้ต่อ
ดังนั้นเราจึงควรที่จะตรวจเบื้องต้น ว่ามีแผง ร้าว แตก หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องทำการเปลี่ยน

3. ตรวจสอบสภาพโครงสร้างทั้งหมด เพื่อดูว่า PV ,Mounting และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ไม่หลวม
>>> ในข้อนี้ก็ตรวจสอบทางกายภาพ ดูในภาพรวม ว่าอุปกรณ์จับยึดแผง และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ไม่หลวม หากพบว่าหลวมก็จะทำการขันให้แน่นหนา

4. ตรวจสอบสภาพสายทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่า สายไม่ย้อย หรือหย่อนลง
>>> ต้องตรวจสอบ สายใต้แผง ว่าไม่หย่อน ย้อย เรี่ยราด แตะกับพื้นหลังคา หากพบเจอว่าหย่อน ย้อย ก็ทำการเก็บให้เรียบร้อย รวมทั้งก็ต้องวิเคราะห์สาเหตุการชำรุดของสายว่ามาจากเหตุใด เช่น รังสี UV ,สัตว์กัดสาย เช่นหนู , หรือจากสาเหตุอื่นใด

5. ตรวจสอบความผิดปกติของ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
>>> ซึ่งกรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับ อินเวอร์เตอร์ ของแต่ละยี่ห้อ โดยกดดูตามเมนูต่างๆ เช่น Status , Alarm ... หากเกิดมีAlarm หรือ Error ก็ต้องนำมาหาสาเหตุ และแก้ไข รวมทั้งอาจต้องทำความสะอาดเช็ดถู เป่าหรือดูด ตัวอินเวอร์เตอร์ และทำความสะอาดพัดลมระบายอากาศ

6. ตรวจสอบระบบ เซ็นเซอร์อุณหภูมิ , ระบบมอนิเตอร์ , ระบบควบคุม และระบบ ALARM
>>> ตรวจสอบ Module Temperature , Ambien Temperature และ Direct Irradiance บนหลังคา และตรวจสอบดูจากระบบมอนิเตอร์ ออนไลน์ สามารถดูค่าอุณหภูมิ และอัตราความเข้มแสงได้เป็นปกติ รวมทั้งทำการ ดูดฝุ่น เช็ดถู ให้สะอาดเรียบร้อย

7. ตรวจสอบสถานะและความหนาแน่นของขั้วสายไฟ
>>> ทำการขันสกรู ของเทอร์มินอลสาย DC ที่ Combiner Box พอตึงมือ ทุกๆจุด เพื่อป้องการเกิดการอาร์คของกระแสไฟฟ้า ซึ่งจุดนี้ต้องควรระวังหากขัน หรือไขในช่วงเวลากลางวัน จะมีไฟฟ้า แรงดันหลายร้อยโวลท์ ต้องใช้เครื่องมือเซฟตี้ เพื่อป้องกันการช็อต หรือเพื่อความปลอดภัยอย่างที่สุด เข้าทำงานในเวลากลางคืนก็ได้ เพราะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้ามายัง Combiner Box
>>> ทำการขันสกรู ในตู้ MDB Solar ซึ่งกรณีนี้อาจต้องทำในช่วงที่ โรงงานหยุดผลิต โดยต้องทำการปิดระบบโซล่าเซลล์ และปิด Main AC ของการไฟฟ้าฯ ด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัตงาน
>>> ทำการขันจุดต่อกราวด์ กราวด์เทสบ็อก (Ground Test Box ) เผื่อว่าฟ้าลง กระแสไฟฟ้าหลายๆหมื่นๆโวลท์ จะได้ไหลลงดิน ได้โดยสะดวกโยธิน ไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด

8. ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า รวมทั้งสวิทช์และรีเลย์
>>> ตรวจสอบสถานะ รีเลย์ โปรเท็คชั่น , PQ Meter , Zero Export และ AC Solar ว่าอยู่ในสภาวะปกติ รวมทั้งทำการ ดูดฝุ่น เช็ดถู ให้สะอาดเรียบร้อย

9. ตรวจสอบอุปกรณ์ Communication
>>> ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ปัจจุบันระบบโซล่าเซลล์ จะต้องมีระบบมอนิเตอร์ ดูกำลังการผลิต ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่าเมื่อติดตั้งแล้วทำงานได้เต็มประสิทธิภาพดังที่คาดหวังไว้หรือไม่ ซึ่งเราก็ต้องให้ความสำคัญกับระบบสื่อสารด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Switch หรือ hub , Router , Optical Modem(กรณีใช้อ๊อพติกเป็นวงจรเชื่อมโยง) , Communication Gateway (ขึ้นอยู่กับอินเวอร์เตอร์แต่ละยี่ห้อ) เป็นต้น

10. ตรวจสอบ UPS หรือแบตเตอรี่สำรอง ในระบบ
>>> บางครั้งในโรงงาน ก็อาจจะมีไฟตก ไฟกระชาก หรือไฟดับเป็นบางครั้ง ดังนั้นในระบบ Relay Protection , PQ Meter , ระบบสื่อสาร Optical Modem , Zero Export เป็นต้นที่ควรต้องต่อผ่าน UPS เพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุด กรณีที่เกิดไฟฟ้าตก หรือกระชาก ซึ่งการตรวจสอบก็ง่ายๆ แค่ชักปลั๊กไฟ ขาเข้าออก แล้ว UPS ยังจ่ายไฟอยุ่หรือไม่ ถ้ายังจ่ายไฟได้อยู่ก็แสดงว่ายังแจ่มอยู่ ใช้งานได้ไม่มีปัญหา แต่หากชักปลั๊กไฟขาเข้าออก แล้วไฟดับปุ๊ปเลย ก็แสดงว่า UPS หรือแบตเตอรี่ ตัวนี้ไปดีซะแล้ว หาตัวใหม่มาเปลี่ยนได้เลย

11. ตรวจสอบความร้อน ด้วย Thermo Scan
>>> จุดประสงค์ที่เราวัดอุณภูมิของอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบ ด้วยกล้องอินฟาเรด หรือ อาจเรียกว่า Thermo Scan ก็เพื่อที่จะหาจุดที่มีความร้อน ขึ้นมามากกว่าค่าปกติ เพื่อจะได้แก้ไข ก่อนที่จะเกิดไฟใหม้อุปกรณ์ โดยรายละเอียดของการวัดค่าความร้อนนี้ ถ่ายหรือวัด ค่าไม่ยากครับ แต่ยากตรงที่นำข้อมูลที่วัดได้มาวิเคราะห์อย่างละเอียด และถูกต้องเป็นเรื่องทีต้องใช้ความละเอียด
จุดที่เราควรวัดค่าความร้อน ก็มีหลายๆจุด เช่น ตู้ MDB Solar , Combiner Box , จุดต่อสายต่างๆ , แผงโซล่าเซลล์ , จุดต่อสาย String บนหลังคา ,กราวด์เทสบ๊อก เป็นต้น

12. ทดสอบ I-V Curve Test เมื่อพบความผิดปกติของแผงโซล่าเซลล์
>>> กรณีนี้ตรวจสอบ เมื่พบว่าบาง String หรือบางอินเวอร์เตอร์ มีค่าการผลิตพลังงานลดลง มากกว่าตัวอื่นอย่างผิดปกติ เราจึงจะทำการตรวจวัด เป็นราย String และหรืออาจต้องถอดสาย MC4 วัดเป็นรายแผง เพื่อจะได้หาต้นเหตุที่ทำให้ ค่าพลังงานลดลง

13. ตรวจสอบค่าทอร์คของน็อตที่จับยึด Mounting และขันให้ได้ตามมาตรฐาน
>>>> เมื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มา 5 ปีแล้ว ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฝน ผ่านลม เราก็ควรต้องตรวจสอบและขันน็อตยึด Mounting ให้แน่นหนา เพื่อป้องกัน แผงหลุดปลิว

 


สอบถามข้อมูล หรือ สั่งซื้อ
ติดต่อฝ่ายขาย : ลูกค้าทั่วไป/เอกชน
โทร. 086-304-4171 (คุณนกเอี้ยง) , 064-962-5854 (คุณจัมโบ้ ) , 095-7199-887 (คุณวิ)

ติดต่อฝ่ายขาย : หน่วยงาน/โครงการ
โทร. 098-430-4777 (คุณนุช) , 088-797-3031 (คุณหนึ่ง)
Email : premier.salesPL@gmail.com
Line ID : @premierlighting

 
Share this Post:

Related Posts: